ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 31.59/61 ระหว่างวันอ่อนค่า ก่อนกลับมาแข็งค่าช่วงบ่าย ตลาดจับตาสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2020 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 31.59/61 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 31.63 บาท/ดอลลาร์

โดยระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 31.57/58 บาท/ดอลลาร์ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 31.65/66 บาท/ดอลลาร์ แต่ใน ภาพรวมตลอดทั้งวันเงินบาทเคลื่อนไหวตามแรงซื้อขายของ flow ซึ่งเข้ามาทางฝั่งของตลาดหุ้นเป็นหลัก

"ระหว่างวันเงินบาทอ่อนค่าสุดที่ 31.65/66 ซึ่งการที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ต่ำสุดในรอบเกือบ 11 ปีก็ น่าจะมีผลต่อค่าเงินอยู่บ้าง ประกอบกับวันนี้ US Index เป็นขาขึ้น ดอลลาร์แข็งค่า อย่างไรก็ดี เงินบาทก็เริ่มย่อลงในช่วงบ่าย" นัก บริหารเงินระบุ

ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีนต่อไป หลังจากมีรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัล ทรัม ป์ สั่งห้ามสายการบินจีนเดินทางเข้าสู่สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.55-31.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.95/98 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.89 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1200/1205 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1219 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,411.01 จุด เพิ่มขึ้น 36.83 จุด (+2.68%) มูลค่าการซื้อขาย 122,562 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,509.77 ลบ.(SET+MAI)
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงหลักการและเหตุผลในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนงบ
ประมาณรายจ่าย วงเงิน 88,452,597,900 บาท ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการ
แก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติสาธารณะร้ายแรง ส่งผลกระทบต่อ
ประชาชนและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รวมทั้งปัญหาจากภัยพิบัติ ภัยแล้ง อุทกภัย และกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินหรือจำเป็นอื่น
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือนพ.ค.63 ลดลงจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน -3.44% ถือเป็นการลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน นับตั้งแต่เดือนส.ค.52 โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แม้จะมีการปรับเพิ่มขึ้นหลายครั้งในเดือนนี้ แต่ยังต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยราคาน้ำมันในเดือน
พ.ค.นี้ ลดลงไปถึง 27% รวมทั้งมีมาตรการช่วยเหลือด้านค่าครองชีพจากภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา นอกจากนั้น
ราคาอาหารสด เช่น ผักสดในปีก่อนมีราคาสูง ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วจึงทำให้ราคาผักสดปีนี้ลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี

ทั้งนี้ ถือว่าเข้าสู่ภาวะเงินฝืดทางเทคนิค เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยติดลบต่อเนื่องกัน 3 เดือนแล้ว

  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตรา
เงินเฟ้อของไทย ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน แม้ลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน และเป็นการติด
ลบต่อเนื่องกัน 3 เดือน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3/2563
เมื่อวันที่ 20 พ.ค.63 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 63 มีแนวโน้มหดตัวกว่าประมาณการเดิมตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจาก
มาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมีผลกระทบต่อการจ้างงานและความเปราะบางด้าน
เสถียรภาพระบบการเงินมากขึ้น
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค. 63
ฟื้นตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน หลังจากเริ่มผ่อนคลายธุรกิจบางส่วนได้ แต่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงอยู่ในระดับต่ำสุด
เป็นประวัติการณ์ จึงคาดว่าผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่ายไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือนนับจากนี้ไปจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส
โควิดจะคลายตัวลง และมีการเปิดร้านค้า/กิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือธุรกิจอย่างกว้างขวาง

ขณะเดียวกัน มองว่าเศรษฐกิจไทยได้ถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงพ.ค. และคาดว่าในช่วงไตรมาส 2/63 เศรษฐกิจไทยมีความ เป็นไปได้ที่จะหดตัวถึง -10% แต่คงจะไม่ทรุดตัวต่อเนื่องมากไปกว่านี้แล้ว เพราะสถานการณ์ในภาพรวมเริ่มดีขึ้น ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อใน ประเทศที่ลดลงอย่างมาก การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่ทำให้ร้านค้า/กิจกรรมต่างๆ สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้มากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ บริโภคมองว่าความเชื่อมั่นจะเริ่มดีขึ้น เพราะมองว่าสถานการณ์ในอนาคตจะไม่แย่ไปมากกว่านี้

  • ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการ
คลังว่า กระทรวงคลังได้สั่งให้ ททท.ไปทำมาตรการกระตุ้นไทยเที่ยวไทยมาเสนอหาข้อสรุปอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
  • นักเศรษฐศาสตร์หลายรายคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะเปิดเผยแนวทางมากขึ้นในการประชุม
นโยบายในสัปดาห์หน้า เพื่อส่งสัญญาณถึงความตั้งใจที่เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ใกล้ระดับ 0% ต่อไปอีก 2-3 ปี เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจฟื้น
ตัวจากผลกระทบของโรคโควิด-19
  • รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ซึ่งมีเป้าหมายที่จะบรรเทาผลกระทบ

จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น จะช่วยหนุนให้ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวราว 2%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ