ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 31.07/12 แข็งค่าจากวานนี้หลังมีแรงขายดอลล์ ตลาดจับตาเจรจาการค้าสหรัฐ-จีนปลายสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 11, 2020 09:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.07/12 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เย็นวานที่ปิดตลาดที่ระดับ 31.14 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากเมื่อเย็นวาน เนื่องจากมีแรงขายดอลลาร์เพื่อทำกำไร และแนวโน้มวันนี้เงินบาทยังมี โอกาสจะไปในทิศทางแข็งค่าได้ต่อ ปัจจัยที่ตลาดยังให้ความสำคัญในช่วงนี้ คือ การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่จะมีขึ้นในวันที่ 15 ส.ค.นี้

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 31.00-31.15 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (10 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.40215% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.45701%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.21 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 105.79 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1540 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.1760 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 31.1690 บาท/ดอลลาร์
  • รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้รายงานตัวเลขหนี้สาธารณะ
ของไทย ช่วงครึ่งปีแรก ของปี 63 โดยล่าสุดเมื่อสิ้นเดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ 7.44 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.9 แสนล้านบาท จากสิ้นปีก่อนที่
มีจำนวน 6.95 ล้านล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปรับเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 41% เพิ่มเป็น 44.76% โดยมีสาเหตุหลักมาจาก
ผลกระทบจากการระบาดโควิด ทำให้รัฐบาลต้องออก พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มาใช้จ่ายเยียวยาดูแลประชาชน และฟื้นฟูระบบ
เศรษฐกิจ รวมถึงยังมีการกู้เพื่อใช้บริหารสภาพคล่อง และปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี
  • สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมปรับปรุงแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ให้สอด
คล้องและครอบคลุมของแผนแม่บทฯ ในการรองรับชีวิตวิถีใหม่ หรือนิว นอร์มัล รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โควิด-19 ล่าสุดที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบแล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือแจ้งให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบ เพื่อ
เตรียมพร้อมปรับปรุงแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
  • "กูรู" ฟันธง "บิทคอยน์" ส่งสัญญาณขาขึ้น จากหลายปัจจัย "จิรายุส" ยก 3 เหตุผลดันราคาพุ่ง ทั้ง "เฟด" อัดฉีดคิวอี
ไม่อั้น ปรากฏการณ์ฮาร์ฟวิ่ง สหรัฐไฟเขียว แบงก์รับฝากเงินดิจิทัลได้ เผยปีนี้ราคา พุ่งแล้ว 66% ด้าน "ปรมินทร์" ชี้พุ่งตามแรงซื้อ
ทองคำ จับตามีลุ้นแตะ 1.5-1.6 หมื่นดอลลาร์ แนะลงทุนสั้น ไม่เหมาะถือยาว
  • "กรุงศรี ฟินโนเวต" จ่อเพิ่มทุน 50 ล้านดอลลาร์ รองรับสตาร์ทอัพ คาดปีนี้ลุยลงทุน 10 บริษัท พร้อมปรับกลยุทธ์เน้น
สตาร์ทอัพที่สร้างผลตอบแทน หวังมีรายได้ลดพึ่งพาบริษัทแม่
  • ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) เปิดเผยว่า แผนการควบรวมกิจการระหว่างธนาคารทหารไทยและธนาคาร
ธนชาตได้ดำเนินอย่างไม่ติดขัด โดยกระบวนการรวมกิจการทั้งสองธนาคารจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือน ก.ค. 64 ซึ่งช่วง 6 เดือนที่ผ่าน
มาทั้ง 2 ธนาคารได้รวมผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ เพื่อรองรับลูกค้ามากยิ่งขึ้น
  • ตลาดจับตาการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในวันที่ 15 ส.ค. เพื่อประเมินความคืบหน้าในการปฏิบัติตามข้อตกลง
การค้าในเฟสแรก
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินบางสกุล ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (10 ส.ค.)
ขณะที่นักลงทุนจับตาการเจรจาเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ รวมทั้งการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนในวันที่ 15
ส.ค.นี้
  • นักลงทุนจับตาการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหม่ของสหรัฐ โดยรมว.คลังสหรัฐ กล่าวว่า รัฐบาลของ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เปิดกว้างต่อการเจรจาครั้งใหม่กับแกนนำพรรคเดโมแครตเกี่ยวกับการออกมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พร้อมกับคาดการณ์ว่า รัฐบาลและสภาคองเกรสจะสามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร็วที่สุดภายในสัปดาห์นี้
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (10 ส.ค.) เนื่องจากสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีนได้กระตุ้นให้
นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย นอกจากนี้ สัญญาทองคำยังได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าทำเนียบขาวและสภาคองเกรส
จะสามารถบรรลุข้อตกลงในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในสัปดาห์นี้
  • ข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่นๆของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือนก.ค. จาก
สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.ค., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ค., จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือนก.ค., ยอดค้าปลีกเดือนก.ค., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.,
สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมิ.ย. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนส.ค.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ