ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 31.17 จับตาเงินเฟ้อสหรัฐ-ผลประชุม ECB คาดกรอบพรุ่งนี้ 31.10-31.25

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 10, 2021 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เย็นนี้เงินบาทปิดตลาดอยู่ที่ 31.17 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวใกล้ เคียงกับเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 31.16 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทตลอดทั้งวันทรงตัวจากช่วงเช้า เนื่องจากตลาดยังรอปัจจัยชี้นำใหม่สำคัญคืนนี้ คือ ผลประชุมธนาคารกลาง ยุโรป (อีซีบี) และการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 31.13 - 31.17 บาท/ ดอลลาร์

"บาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ รอปัจจัยสำคัญสองเรื่องคืนนี้ ซึ่งอาจส่งผลให้เงินบาทในวันพรุ่งนี้ผันผวนได้ โดยวันนี้ วอลุ่มต่ำสุดในรอบสัปดาห์ และปิดตลาดอ่อนค่าสุดของวัน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 31.10 - 31.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.49 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 109.57 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.2166 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.2176 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,625.27 จุด ลดลง 1.00 จุด, -0.06% มูลค่าการซื้อขาย 105,961.36 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,638.95 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติรับ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ด้วยคะแนนเสียง 270 ไม่เห็น
ด้วย 196 เสียง
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 64 ไว้ที่เติบโต 1.8% ภายใต้
สมมติฐานที่คาดว่าการระบาดโควิดระลอก 3 จะบรรเทาลงในช่วงเดือน ก.ค.64 จากการเร่งปูพรมการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับ
ประชาชนมากขึ้นตั้งแต่เดือน มิ.ย.64 เป็นต้นไป ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การติดเชื้อโควิดเริ่มชะลอลงในช่วง 1-2 เดือนนี้ (มิ.ย.-ก.
ค.64) และจะทำให้เริ่มกลับมาเปิดเมืองได้เต็มที่มากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลบวกจากทิศทางการส่งออกที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัว
ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งได้ปรับประมาณการตัวเลขการส่งออกไทยในปี 64 เพิ่มขึ้นเป็น 9% จากเดิม 7%
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค.อยู่ที่ 44.7
ลดลงจากเดือน เม.ย.64 ซึ่งอยู่ที่ 46.0 โดยดัชนีลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ จากการระบาดของโควิด-19 รอบสาม

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยประจำเดือน พ.ค.64 (TCC-CI) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจ และหอการค้าทั่วประเทศ อยู่ที่ระดับ 24.7 ลดลงต่อเนื่องจากเดือน เม.ย.64 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 27.6 นอกจากนี้ดัชนี TCC-CI ยังลด ลงต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มสำรวจในเดือน มิ.ย.62

  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 1.5% ก่อนที่จะมีเปิดเผยตัวเลขเงิน
เฟ้อของสหรัฐในวันนี้
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี (Destatis) รายงานยอดส่งออกของเยอรมนีในเดือน เม.ย.ขยายตัวขยายตัว
ใกล้แตะระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือปรับตัวขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
  • จีนและสหรัฐได้หารือถึงประเด็นเศรษฐกิจในวันนี้ และนับเป็นการหารือทางโทรศัพท์เป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 2
สัปดาห์ ส่งสัญญาณข้อพิพาทเริ่มคลี่คลาย โดยจีนระบุว่ารัฐมนตรีพาณิชย์ของทั้งสองฝ่ายเจรจาอย่างตรงไปตรงมา
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยรายปีของจีนในปีนี้จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2% ขณะเดียวกัน
ธนาคารกลางจีนยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับแรงกดดันทั้งในด้านเงินเฟ้อและเงินฝืด ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและ
นโยบายมหภาค

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ