ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.09/10 แนวโน้มระยะสั้นยังอ่อนค่า คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.00 - 35.20

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 16, 2022 17:35 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.09/10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.80 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเย็นนี้อ่อนค่าจากช่วงเช้า ซึ่งเป็นผลจากกรณีที่เมื่อคืนนี้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ซึ่งถือเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ในรอบ 28 ปี และมีแนวโน้มว่าเฟดจะปรับขึ้นอีก 0.75% ในการประชุมครั้งถัดไปเดือนก.ค.

"คาดว่าเงินบาทจะยังอ่อนค่าได้ แต่อยู่ในระยะสั้น" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00 - 35.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 132.85/87 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.57 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0407/10 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0438 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,561.10 จุด ลดลง 32.44 จุด (-2.04%) มูลค่าการซื้อขาย 97,738 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 5,807.47 ลบ.(SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมด่วนทีมเศรษฐกิจ ซึ่งคาดว่าจะมีการหารือถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
จากราคาน้ำมัน ราคาสินค้า และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะ
รัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในสัปดาห์หน้า เพื่อให้มาตรการเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนก.ค. 65
  • ม.หอการค้าไทย ปรับลดประมาณการ GDP ปี 2565 ลงเหลือ 3.1% จากเดิม (เดือนพ.ย.64 ) ที่คาดการณ์ไว้ 4.2%
เนื่องจากราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น จากผลพวงความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งยังทำให้สินค้ากลุ่มพลังงาน สินค้าโภคภัณฑ์
ต่างๆ มีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อของหลายประเทศทยานขึ้น จนสร้างความกดดันให้ธนาคารกลางหลายประเทศต้องปรับขึ้น
ดอกเบี้ยนโยบาย
  • ม.หอการค้าไทย คาดคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 3 ครั้งที่เหลือ
ของปีนี้ (ส.ค., ก.ย., พ.ย.65) อีกครั้งละ 0.25% แต่เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ กนง.จะต้องเรียกประชุมนัดพิเศษ เพราะ
ขณะนี้ไม่ได้มีเหตุการณ์ใดที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งการเรียกประชุมนัดพิเศษจะส่งผลในทางจิตวิทยาเชิงลบต่อตลาดได้
  • เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, ซิตี้กรุ๊ป อิงค์ และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค ซึ่งเป็นธนาคารของสหรัฐเปิดเผยว่า ได้ปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (Prime Lending Rate) 0.75% สู่ระดับ 4.75% โดยมีผลบังคับใช้ในวันนี้ (16 มิ.ย.) เพื่อให้สอด
คล้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เมื่อวานนี้
  • โฆษกคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนมีแนวโน้มที่จะปรับ
ตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในกรอบที่เหมาะสม โดยอาจแตะระดับเป้าหมายที่ 3% ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทั่วโลก
  • นักลงทุนคริปโทเคอร์เรนซีและผู้บริหารบริษัทกาแล็กซี ดิจิทัล โฮลดิงส์คาดการณ์ว่า 2 ใน 3 ของเฮดจ์ฟันด์ที่ลงทุนใน
คริปโทเคอร์เรนซีจะล้มละลาย เนื่องจากการทรุดตัวของตลาดคริปโทฯ ในปัจจุบัน
  • ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ -0.25% จากระดับ -0.75% ซึ่งเป็นการ
ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 15 ปี โดย SNB ดำเนินการตามทิศทางของธนาคารกลางทั่วโลกที่พากันคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อสกัด
เงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงในขณะนี้
  • ธนาคารกลางไต้หวัน ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.125% สู่ระดับ 1.5% ซึ่งนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ครั้งที่ 2 ของปีนี้ สะท้อนถีงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น
  • ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% สู่ระดับ 2% ในวันนี้ ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในปีนี้ ตามการคุมเข้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มการประชุมนโยบายการเงินวันแรกในวันนี้ โดยจะแถลงมติการประชุมในวันพรุ่งนี้ ขณะที่นัก

วิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า BOJ จะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultraeasy Monetary Policy) ต่อไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ