ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.80 อ่อนค่าเล็กน้อย ตลาดไร้ปัจจัยใหม่ คาดแกว่งในกรอบ 35.70-36.00

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 25, 2022 09:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.80 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อน ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.75 บาท/ดอลลาร์

วันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาที่จะส่งผลต่อทิศทางค่าเงิน เนื่องจากเมื่อคืน ตลาดสหรัฐฯ ปิดทำการในวันหยุดเทศกาล ขอบคุณพระเจ้า ทำให้ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ

"บาทอ่อนค่าตามแรงซื้อขาย เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ปิดทำการ จึงไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ ทิศทางวันนี้น่า จะแกว่งตัวในกรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.70 - 36.00 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (24 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.23966% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.66431%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.77 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 138.56/58 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0400 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0417/0420 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารอยู่ที่ระดับ 36.001 บาท/ดอลลาร์
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เผยแบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจ
สหรัฐฯ ขยายตัว 4.3% ในไตรมาส 4 โดยสูงกว่าระดับ 4.2% ที่มีการเปิดเผยก่อนหน้านี้
  • ธนาคารกลางตุรกี ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.50% สู่ระดับ 9.0% เมื่อคืนนี้ พร้อมกับประกาศยุติวงจรการ
ผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยระบุถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อ
  • สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มอ่อนแอลงเหมือนกับที่
เคยเกิดขึ้นในปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤตการเงินโลก โดย IIF ระบุว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนมีความเสี่ยงที่จะ
บานปลายกลายเป็นสงครามที่ไม่มีวันจบสิ้น
  • โฆษกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย ระบุรัสเซียจะไม่จัดส่งน้ำมันให้แก่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมการกำหนดเพดาน
ราคาน้ำมันรัสเซีย จากกรณีที่เอกอัครราชทูตจาก 27 ประเทศของ EU หารือข้อเสนอของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำทั้ง 7
หรือ G7 ในการกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียให้อยู่ในกรอบ 65-70 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่จะมีการรายงานในวันนี้ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565

และ การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค.ของสิงคโปร์, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.จากสถาบัน GFK และ ผลิตภัณฑ์มวล

รวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565 ของเยอรมนี, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย.ของฝรั่งเศส


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ