ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.77 แกว่งแคบ จับตาประชุมกนง. คาดกรอบต้นสัปดาห์หน้า 35.65-36.00

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 25, 2022 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.77 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.80 บาท/ดอลลาร์

วันนี้ เงินบาทเคลื่อนไหวตามทิศทางการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างประเทศ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.57 - 35.81 บาท/ดอลลาร์

"บาทเคลื่อนไหวตาม Flow ที่มีทั้งสองขา วันนี้ธุรกรรมเบาบาท ทิศทางผันผวน แกว่งตัวในกรอบกว้างพอสมควร ก่อน มาปิดตลาดแข็งค่าเล็กน้อยจากเปิดตลาดช่วงเช้า" นักบริหารเงิน กล่าว

ปัจจัยที่ตลาดจับตาดูในสัปดาห์หน้า โดยในประเทศจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ช่วงกลาง สัปดาห์ ซึ่งคาดว่าจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 1.25% ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ช่วงท้ายสัปดาห์จะมีการ ประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน พ.ย.ของสหรัฐฯ รวมถึงความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่เฟด และสถานการณ์โควิด- 19 ในจีน

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 35.65 - 36.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.36 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 138.77 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0392 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0400 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,620.84 จุด ลดลง 4.12 จุด, -0.25% มูลค่าการซื้อขาย 36,768 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 166.65 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายกรัฐมนตรี ชี้ปัจจุบันยังมีปัญหาด้านพลังงานในทุกมิติ และจากการติดตามสถานการณ์โลกทั้งภายนอกและภายใน
สถานการณ์วิกฤตพลังงานจะอยู่ไปอีกนานพอสมควร ทำให้ต้องเตรียมมาตรการที่เหมาะสมในการดูแลประชาชนไทยในหลายกิจกรรม
ต้องพยายามให้มีการปรับเปลี่ยนในช่วงสถานการณ์วิกฤตขณะนี้ โดยรัฐบาลมุ่งหวังดูแลกลุ่มเปราะบางและประชาชนให้เดือดร้อนน้อยที่
สุด ขณะเดียวกัน จะคำนึงถึงภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
  • คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเห็นชอบแนวทางตรึงค่าไฟฟ้าเดือน ม.ค.-เม.ย.66 เฉพาะ
กลุ่มครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ไว้เท่าเดิม 3.78 บาทต่อหน่วย แม้อัตราคาไฟฟ้างวดเดือน ม.ค.-เม.ย.66
จะปรับขึ้นเท่าไรก็ตาม พร้อมมอบหมายให้ กกพ.ไปจัดทำรายละเอียดตามแนวทาง กพช.ต่อไป ส่วนที่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน ปรับ
การช่วยเหลือเป็นแบบขั้นบันได
  • ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยสั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรง
พยาบาลทั่วไปทั่วประเทศ กำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนในช่วงนี้ และให้ทุกโรงพยาบาลในสังกัดจัดจุดบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 หลัง
พบการระบาดระลอกใหม่ในลักษณะ Small Wave และจะค่อยๆ ลดลงช่วงหลังปีใหม่
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมทบทวนเป้าหมายนักท่องเที่ยวไทยเที่ยวในประเทศใหม่ จากเดิมที่
ตั้งเป้าคนไทยเที่ยวไทยปี 2565 ไว้ 160 ล้านคน/ครั้ง โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 ถึงสิ้นเดือน ต.ค.65 มีคนไทยเที่ยวไทยมากถึง
200 ล้านคน/ครั้งแล้ว ขณะที่ตัวเลขก่อนโควิดในปี 2562 คนไทยเที่ยวไทยอยู่ที่ 222 ล้านคน/ครั้ง โดยคาดว่าตัวเลขจะสูงกว่าช่วง
ก่อนโควิด
  • รัฐบาลญี่ปุ่น ระบุดัชนี CPI พื้นฐานของกรุงโตเกียว ซึ่งไม่รวมราคาอาหารอาหารสด แต่รวมเชื้อเพลิง ปรับตัวขึ้น
แตะ 3.6% ในเดือน พ.ย.เมื่อเทียบเป็นรายปี สูงกว่าคาดการณ์เฉลี่ยของตลาดที่ 3.5% และการปรับขึ้น 3.4% ในเดือน ต.ค.
  • บริษัท อ็อกซ์ฟอร์ด อิโคโนมิกส์ (Oxford Economics) คาดการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Covid Zero) ที่
นานกว่าคาดของจีน อาจทำให้การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนลดลงเกือบ 1 จุดเปอร์เซ็นต์
(percentage point) ในปีหน้า
  • GfK เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนี มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยในเดือน ธ.ค.หลังจากมาตรการสนับ
สนุนด้านพลังงานของรัฐบาล ช่วยสร้างเสถียรภาพด้านความเชื่อมั่นให้ขยับมาอยู่เหนือระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ในช่วง 2 เดือนก่อน
หน้า แต่การบริโภคจะลดน้อยลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนีปรับตัวขึ้นสู่ -40.2 ในช่วงเข้าสู่เดือน ธ.ค.จาก -
41.9 ในเดือน พ.ย.
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี (Destatis) เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/2565

ของเยอรมนีขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับตัวเลขประมาณการเบื้องต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ